top of page
  • รูปภาพนักเขียนblog.organicshop44

วิจัยยัน! สมุนไพรเห็ดหลินจือรักษาโรคไต

อัปเดตเมื่อ 15 มี.ค. 2565


งานวิจัย รพ.จุฬา พบสมุนไพรเห็ดหลินจือช่วยฟื้นฟูโรคไตได้จริง เห็ดหลินจือแดงมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการ ไข่ขาวรั่วในปัสสาวะของผู้ป่วยไตลดลง และป้องกันภาวะไตวายได้ และเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคไดไม่ให้เสื่อม

รศ.พญ.ดร.นริสา ฟูตระกูล นักวิจัยภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

ได้เปิดเผยถึงสถิติของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ว่ามีประมาณ 250 คน ต่อหนึ่งล้านคนต่อปี



ผู้ป่วยไตเรื้อรังที่เข้าสู่ภาวะไตวายขั้นสุดท้าย ต้องเข้ารับการฟอกไต หรือ เปลี่ยนไตอยู่ในอัตรา 7% ต่อปี และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ


นอกจากนี้ยังพบว่า 3 – 5% ของผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จะมีความผิดปกติของไต


สาเหตุของการเกิดโรคไตนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจมีปัจจัยทางกรรมพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ร่วมกับสิ่งกระตุ้น เช่น การติดเชื้อ ได้รับสารพิษ ฯลฯ




รู้จักโรคไต กันก่อนดีกว่า!


ไต เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายถั่ว มี 2 ข้าง อยู่ทางด้านหลังนอกช่องท้อง และมีหน้าที่ 2 ประการใหญ่ๆ คือ

ควบคุมระดับเกลือแร่ต่างๆ ให้เป็นปกติ และขับของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะ สร้างฮอร์โมนและสารต่างๆ


ฮอร์โมนที่สำคัญคือเออริโทรพอยเอติน ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นไขสันหลังให้สร้างเม็ดเลือดแดง


ไตแต่ละข้างประกอบด้วยหน่วยไตประมาณ 1 ล้านหน่วย แต่ละหน่วยประกอบด้วยตัวกรองและหลอดไต


ในแต่ละวันมีเลือดไหลเวียนผ่านไตประมาณ 180 ลิตร และหน่วยไตจะกรองและคัดหลั่งสารต่างๆ และขับออกมาเป็นปัสสาวะ วันละประมาณ 1 ลิตร/คน

คนเราสามารถมีชีวิตโดยปกติได้โดยอาศัยไตเพียงข้างเดียว ภาวะไตวาย จะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีความผิดปกติในการทำงานของไตทั้งสองข้าง

โดยสามารถแบ่งเป็น 2 แบบคือ


ไตวายเฉียบพลัน

  • เกิดขึ้นเพียงระยะเวลาหนึ่งแต่เมื่อแก้ไขที่ต้นเหตุได้อาการนี้ก็หายไปได้ สาเหตุเกิดจากภาวะที่เลือดหรือสารน้ำไปเลี้ยงไตลดลง


การได้รับยาหรือสารพิษ

  • ที่เป็นพิษต่อไตไตวายเรื้อรัง ถึงแม้จะทำการแก้ไขที่ต้นเหตุแล้ว ก็จะยังมีการเสื่อมของไตมากขึ้นไปเรื่อยๆ จนนำไปสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด

  • โดยสาเหตุที่พบบ่อยได้แก่ โรคเบาหวาน การอักเสบเรื้อรังของตัวกรองของไต หรือหลอดไต โรคไตจากความดันโลหิตสูง การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ (จากนิ่ว ต่อมลูกหมาก) โรคถุงน้ำโป่งพองในไตแต่กำเนิด โรคเกาต์ โรคไต ซึ่งเกิดจาการรับประทานยาแก้ปวดเป็นระยะเวลานาน และโรคเอสแอลอี 

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังส่วนใหญ่ควรลดอาหารเค็ม เพราะร่างกายไม่สามารถขับเกลือออกจากร่างกายได้ตามปกติ ทำให้บวมและความดันโลหิตสูง ลดอาหารประเภทโปรตีน ควบคุมเบาหวาน ควบคุมความดันโลหิต ให้อยู่ในภาวะปกติ

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

สามารถตรวจสอบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ไตหรือไม่? จากตัวชี้วัด 2 ตัวคือ


ค่าปริมาณยูเรียไนโตรเจนในเลือด หรือ BUN (Blood urea nitrogen)

โดยค่านี้แสดงถึงระดับของเสียที่เกิดจากการย่อยสลายโปรตีน และคั่งค้างในกระแสเลือด ค่าปกติคือ 10-20 มิลลิกรัม/เดซิลิตร


ดังนั้นหากไตทำงานได้แย่ลง ก็จะทำให้ค่า BUN มีค่าเพิ่มขึ้น

ค่าปริมาณสารครีเอตินีน ซึ่งแสดงการทำงานของไต ถ้าการทำงานของไตลดลงค่าครีเอตินีนจะสูงขึ้น กล่าวโดยรวมหากการทำงานของไตแย่ลง ตัวชี้วัดทั้งสองจะมีค่าสูงขึ้น แต่ค่าครีเอตินีนนั้น จะบอกการทำงานของไตได้เด่นชัดกว่าค่า BUN


โรคไตวาย เกิดจากการที่ไตสูญเสียหน้าที่ ไม่สามารถขับน้ำ และของเสียออกจากร่างกายได้ ทำให้ร่างกายเสียสมดุล และเลือดเป็นพิษ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ซึม คลื่นไส้ และเสียชีวิตในที่สุดได้


โรคไตวายเรื้อรังไม่ว่าเกิดจากสาเหตุใด

สุดท้ายจะทำให้เกิดภาวะ ยูเรเมีย ( Uremia ) เหมือนกัน คือทำให้มีอาการ ซีด บวม อ่อนเพลีย ซึมลง จนหมดสติและชักได้ ร่างกายจะดำรงอยู่ไม่ได้ ถ้าไตไม่ทำงานขับถ่ายของเสีย

ปัจจุบันวิธีรักษาโรคไตจะรักษาโดยการแก้ไขปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุ ทำให้ป่วยเป็นโรคไตร่วมกับการให้ยาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยากดภูมิคุ้มกันซึ่งใช้ได้ผลในผู้ป่วยบางกลุ่มเท่านั้น


ไตมีปัญหารู้ได้อย่างไร? อาการของโรคไต

  • ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน หลายครั้ง

  • มีฟองสบู่ออกมา มีตะกอน

  • ปัสสาวะสีเข้ม

  • ปวดหลังบริเวณไต อยู่ตรงบริเวณบั้นเอว บางครั้งปัสสาวะขัด อ่อนเพลีย เลือดจาง ดูจากปัสสาวะและอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่

  • ปัสสาวะเป็นเลือด มีสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ หรือ สีเหลืองเข้มก็ได้ปัสสาวะมีฟอง เหมือนมีฟองสบู่ออกมาด้วยปัสสาวะขุ่นแสดงถึงไตมีอาการอักเสบ หรือติดเชื้อปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ปัสสาวะขัด มีตะกอนในปัสสาวะ

  • มีอาการบวมน้ำบริเวณหนังตา หน้า ขา เท้า ให้ลองใช้นิ้วกดบริเวณที่บวม หากมีรอยบุ๋มลงไป ให้สันนิษฐานว่าเป็นโรคไตควรพบแพทย์ด่วนความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตเป็นตัวที่สร้างสารควบคุมความดันโลหิต


แต่อย่างไรก็ตามโรคความดันโลหิตสูงมีสาเหตุมากมาย

ไตเป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้นปวดหลังบริเวณไต อยู่ตรงบริเวณบั้นเอวซีดหรือโลหิตจาง


สาเหตุเลือดจางนั้นมีหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นก็มีโรคไต

เนื่องจากไตมีหน้าที่สร้างสารไปกระตุ้นไขกระดูก สร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเป็นไตเรื้อรัง จะส่งผลให้โลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย หน้ามืดพบความผิดปกติของตะกอนในปัสสาวะ พบการทำงานของไตน้อยลงติดต่อกันนาน 3 เดือน


เห็ดหลินจือรักษาโรคไตอักเสบ ไตวาย

ไตที่อักเสบจะมีใยแผลเป็นที่ไต นานเข้าจะหดรัดไต ทำให้ไตเล็กลง รวมทั้งยังรัดเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไต ทำให้ไตทำงานไม่ได้ ไตเกิดภาวะขาดเลือด


มีการศึกษาพบว่า เห็ดหลินจือมีสรรพคุณ เป็นสมุนไพรรักษาโรคไต จะช่วยละลายใยแผลเป็นให้อ่อนตัว ไม่ไปรัดเส้นหลอดที่เลี้ยงไต

ทำให้สามารถไหลไปเลี้ยงไตได้ดี ไตทำงานได้ดีขึ้น ป้องกันการเสื่อมของไต

สามารถละลายลิ่มเลือด เมื่อลิ่มเลือดไม่สามารถเกาะตัวกันได้

ก็จะไม่เกิดภาวะอุดตันของเส้นเลือด เลือดก็จะไหลเวียนได้ดีขึ้น 


วิธีดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรงดี เคล็ดลับจากสรรพคุณประโยชน์ “เห็ดหลินจือ” รักษา ป้องกันสารพัดโรค

สารสำคัญเห็ดหลินจือ สรรพคุณรักษาโรคไต


สารเยอรมาเนียม (Germanium) เป็นสารที่สามารถพบในโสม มีประมาณ 250 – 320 ppm
แต่ในดอกเห็ดหลินจือจะมีสารชนิดนี้ 800 – 2,000 ppm และในรากของเห็ดหลินจือจะมีสารชนิดนี้มากกว่าดอกถึง 4 เท่าตัว

สารเยอร์มาเนียม

  • มีคุณสมบัติเพิ่มออกซิเจนที่สะสมในเนื้อเยื้อ เมื่อร่างกายขาดออกซิเจนก็สามารถดึงจากเนื้อเยื้อออกมาใช้ได้

  • ช่วยขจัดของเสียอย่างไฮโดรเจนแทนออกซิเจนของร่างกาย ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น บำรุงสมอง-ประสาท และ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย



สารโพลีแซคคาไรด์

  • ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีก

  • ช่วยขจัดสารพิษ

  • ปรับสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด


สารนิวคลีโอไทด์

  • เป็นสารที่ช่วยชะลอการก่อเกร็ดเลือด และลิ่มเลือด

  • ป้องกันเส้นเลือดอุดตันจากการก่อตัวของลิ่มเลือด สำหรับคนที่เป็นโรคไตหากเกิดการอุดตันของเส้นเลือด ส่งผลให้เนื้อไตตายได้โปรตีน LZ-8 มีคุณสมบัติช่วยปรับสมดุล ของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย


สารอาดีโนซีน (Adenosine)

มีคุณสมบัติช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย

สร้างความแข็งแรงให้กับเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง

และสร้างสมดุลย์ภายในร่างกาย


นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆอีกมากมาย เช่น กรดโอเอลิก อัลคาลอยด์ สารกาโนเดอริก และกรดอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างครบถ้วน

จากผลการวิจัยเห็ดหลินจือของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า

“สปอร์เห็ดหลินจือกะเทาะเปลือกหรือเยื้อหุ้ม”

เป็นส่วนที่ดีและให้ประโยชน์สูงสุด

เพราะอุดมไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางยาในปริมาณที่เข้มข้นและสูงกว่าสารสกัดส่วนอื่นของเห็ดหลินจือหลายเท่า




รพ.จุฬา วิจัยนำเห็ดหลินจือมารักษาโรคไตเรื้อรัง

คณะวิจัย รศ.พญ.ดร.นริสา ฟูตระกูล นำเห็ดหลินจือมารักษาไตเรื้อรัง

ระบุเห็ดหลินจือช่วยฟื้นฟูการทำงานของไต ทางเลือกใหม่แทนกินยากดภูมิคุ้มกัน

แพทย์จุฬาลงกรณ์ ศึกษากลไกการเกิดภาวะไตวายในร่างกาย

พร้อมสร้างทางเลือกใหม่รักษาโรคไตเรื้อรังด้วยสารสกัดเห็ดหลินจือ


เผยผลทดสอบเบื้องต้นช่วยผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติ

ระบุสรรพคุณสร้างสมดุลให้ระบบภูมิคุ้มกัน ลดอาการไตอักเสบ


ภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพระบบไหลเวียนโลหิต

และเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของไต


ทีมงานวิจัยจึงให้ผู้ป่วยทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือวันละ 750-1,000 มิลลิกรัม

ควบคู่ไปกับยาขยายหลอดเลือด เป็นระยะเวลา 1 ปี


ผลที่ได้พบว่าช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของไตได้ดีขึ้น

ลดภาวะเนื้อไตตายได้อย่างชัดเจน ระบบภูมิคุ้มกันเข้าสู่ภาวะปกติ

ลดภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะได้ดี


นอกจากนี้การกินสารสกัดเห็ดหลินจือในปริมาณดังกล่าวยังไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือผลข้างเคียงใดๆ

รศ.พญ.ดร.นริสา ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไตว่า

นอกจากจะกินสมุนไพรเห็ดหลินจือรักษาโรคไตแล้ว

จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการดำเนินชีวิต


โดยให้ความสำคัญในเรื่องอาหาร น้ำ อากาศ การออกกำลังกาย ควรงดอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง อาหารที่มีรสเค็ม

เพราะคนที่เป็นโรคไตนั้น มักมีภาวะที่ไม่สามารถขับเกลือออกจากร่างกายได้เหมือนคนทั่วไป

จึงอาจทำให้ตัวบวม และการกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ควรกินอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณที่จำกัด


ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ และควรหลีกเลี่ยงสารปนเปื้อนในอาหาร เช่น สีผสมอาหาร กลิ่นสังเคราะห์ สารกันบูด

ไตจะได้ไม่ต้องทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายมากเกินไป


นอกจากนี้ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้มากเพียงพอเพื่อไม่ให้ไตขาดเลือด ที่สำคัญคือควรงดสูบบุหรี่


กินเห็ดหลินจือ เป็นโรคไต มีผลข้างเคียงไหม?

สำหรับผู้ที่กินเห็ดหลินจือใหม่ๆ อาจจะรู้สึกมึนศีรษะ ปวดเมื่อย ปวดตามข้อ ง่วงนอน ผิวหนังเกิดอาการคัน อาเจียน อาการคล้ายท้องเสีย ท้องผูก ฉี่บ่อย หรือจะมีผลลักษณะอาการของโรคนั้น ๆ

ถือเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

อันเป็นเรื่องปกติของการบำบัด ด้วยยาสมุนไพรจีนแผนโบราณ


เนื่องจากเมื่อตัวยาได้เริ่มเข้าไปบำบัดนั้น

จะเข้าไปชะล้างสิ่งที่เป็นพิษในร่างกายให้สลายหรือเคลื่อนย้ายขับสารพิษออกจากร่างกาย จึงทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติดังกล่าว


ซึ่งเป็นสัญญาณ ว่า

ร่างกายกำลังฟื้นตัว ไม่ใช่ผลข้างเคียงจากเห็ดหลินจือ

เช่น ผู้ที่ป่วยโรคไต หรือต้องล้างไต จะปวดเมื่อยตามข้อ เท้าจะบวม ร่างกายอ่อนเพลีย


ซึ่งอาการเช่นนี้จะเกิดขึ้นระยะเวลาเพียง 2-3 วัน หรือประมาณ 1 อาทิตย์

ก็จะกลับสู่สภาพปกติ แล้วแต่สภาพร่างกาย จะแตกต่างกันของแต่ละคน


ไม่ต้องตกใจ ให้กินเห็ดหลินจือต่อไป อย่าหยุด

หากมีผลทางอาการมาก ให้ลด จำนวนแคปซูลลง เมื่อมีอาการปกติ ให้ทานตามคำแนะนำต่อไป

สำหรับผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยารักษาที่แพทย์สั่ง

ก็สามารถทานเห็ดหลินจือควบคู่ไปได้



^-^ กดปุ่มแชร์ในโซเชียลมีเดีย แบ่งปันเรื่องราวดีๆ ให้เพื่อนๆ เพื่อคนไทยมีสุขภาพที่ดี!! ^-^

ดู 74 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page